คุณสมบัติของการเป็นกู้ภัยที่ดี

%e0%b8%81%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%a2

หน่วยกู้ภัยส่วนใหญ่เกิดมาจากคนในชุมชนมารวมตัวกันก่อตั้งขึ้น บางกลุ่มก็มาจากสมาชิกเล่นวิทยุความถี่ บางกลุ่มก็มาจาก อปพร. ซึ่งมีใจรักและเสียสละเพื่อส่วนรวม จึงมีความผูกพันกับชุมชนและรักที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ใกล้ชิดกับชุมชนของตัวเองได้ง่าย และได้รับความไว้วางใจและเชื่อถือจากชุมชน มีการจัดตั้งกระจายออกไปทั่วประเทศ เห็นได้จากมีหลากหลายหน่วยมาก ซึ่งระบบราชการก็ไม่มีงบประมาณพอเพียงที่จะทำได้แต่ก็มีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยราชการกับศูนย์กู้ภัย จะเห็นได้ว่าบางสน. ก็ได้ร่วมมือกันกับศูนย์กู้ชีพจัดตั้งหน่วยกู้ชีพพลเรือนขึ้น เช่น ศูนย์ร่มฟ้า เป็นต้น

การจะเป็นกู้ภัยที่ดีต้องปฎิบัติดังนี้

1. ห้ามดื่มของมืนเมาในขณะปฏิบัติหน้าที่

2. ห้ามฉวยโอกาสหยิบของมีค่าของผู้ประสบภัยไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าต้องการเก็บรักษาให้ทำการเก็บใส่ถุงแล้วนำฝากพยาบาลเวรที่รับผู้ป่วย แล้วจดชื่อพยาบาลผู้เก็บรักษาแล้วแจ้งศูนย์

3. ห้ามกระทำการใดๆ อันส่อพฤติกรรมล้วงเกินทางเพศ ทั้งตลอดผู้ป่วยมีสติและไม่มีสติยกเว้นการทำ CPR กับผู้ป่วยที่ต้องการนวดหัวใจผายปอด

4. ไม่ใช้อารมณ์ในการปฏิบัติหน้าที่

5. ปฏิบัติผู้ประสบภัยเสมือนญาติของตัวเอง

6. เห็นกู้ภัยหน่วยอื่นเป็นผู้ร่วมงานอย่างเป็นมิตร

7. ไม่หวังสิ่งตอบแทนจากญาติผู้ป่วยทุกกรณี

8. ใช้วาจาอย่างสุภาพในการปฏิบัติหน้าที่

9. รักษาจรรยาบรรณของการเป็นกู้ภัยและกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด