ถึงเวลาที่เด็กไทยต้องว่ายน้ำเป็นและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้

อุบัติเหตุในประเทศไทยที่มีอัตราการสังเวยชีวิตเด็กเป็นอันดับหนึ่งนั่นคือการจมน้ำ โดยในแต่ละปีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำถึงกว่า 1,500 คน หรือ เฉลี่ย 4 คนต่อวันจากกิจกรรมทางน้ำที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง ข่าวการสูญเสียลูกน้อยวัย 6 เดือนในอ่างน้ำเป่าลม หรือ การพบศพเด็กวัยหัดเดินที่ขาดการทรงตัวขณะชะโงกหน้าไปในบ่อน้ำหรือโอ่งในสวน เนื่องมาจากการปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังสร้างความสะเทือนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ประสบการณ์อันน่าสลดของผู้ปกครองบางคนที่สูญเสียลูกสาวซึ่งเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมเยาวชนของโรงเรียนเพราะเพียงแค่หันไปคุยโทรศัพท์เรื่องงาน ในขณะที่ลูกสาวเป็นตะคริวอย่างกะทันหันและจมดิ่งไปในสระโดยที่ไม่มีใครคาดคิด หรือแม้กระทั่งความพลาดพลั้งของนักเรียนมัธยมที่เกิดเหตุในบ่อ หนอง คลอง แม่น้ำ ในขณะเล่นน้ำช่วงเทศกาลสงกรานต์และถูกกระแสน้ำพัดพาไปอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์สำคัญที่ทำให้เราตระหนักว่าสาเหตุที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมในพริบตาก็คือ ความประมาทในการมองข้ามความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กนั่นเอง

นอกจากนี้การช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธีคืออีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กไทยสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอีกหลายประเทศ เนื่องจากขาดการฝึกหัดอบรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ประกอบกับความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เช่นการนำเด็กพาดบนบ่าแล้ววิ่งไปมา หรือ วางบนกระทะขนาดใหญ่เพื่อต้องการให้น้ำระบายออกมาทางปาก หากคุณคือคนหนึ่งที่พบเด็กอยู่ในสภาพที่เพิ่งจมน้ำ โปรดจงระลึกไว้ว่าโอกาสที่คุณสามารถช่วยให้เด็กรอดชีวิตนั้นมีเพียง 3นาทีก่อนที่เนื้อสมองจะเริ่มเสียไปจากการขาดออกซิเจนเพราะเลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง ดังนั้นการช่วยเหลือตามความเชื่อที่ว่านั้นจึงอาจเกิดผลเสียในการช่วยชีวิตเด็กที่จมน้ำ เพราะเป็นการทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ และอาจทำให้สำลักน้ำลงสู่ปอดมากขึ้น วิธีการที่ถูกต้องจึงควรเริ่มจากการดึงเด็กขึ้นมาจากน้ำ หากเด็กไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้นให้ผายปอดและนวดหัวใจซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองอย่างต่อเนื่อง การช่วยเด็กที่กำลังจะจมน้ำ หากว่าคุณว่ายน้ำไม่แข็ง หรือ ไม่เป็นเลย คุณควรโยนขอนไม้หรือ วัสดุลอยน้ำ ให้เด็กเกาะไว้ แล้ว เรียกคนอื่นมาช่วยโดยเร็วที่สุด โดย ในระหว่างการนำส่งเด็กจมน้ำไปโรงพยาบาล หากเด็กหัวใจหยุดเต้นหรือเต้นช้า ผู้ปกครองหรือผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือควรช่วยกู้ชีพนวดหัวใจเด็กอย่างต่อเนื่องจนเด็กกลับมาหายใจและมีหัวใจเต้นเป็นปกติดี หลังการปฐมพยาบาลเบื้องต้นควรจัดให้เด็กนอนท่าตะแคงและให้ความอบอุ่นจนกว่าจะถึงมือแพทย์

แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรการให้ความรู้ด้านการกู้ภัยทางน้ำแก่บุคคลทั่วไปอย่างแพร่หลาย กระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี เป็น “วันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และเด็ก ตระหนักในเรื่องดังกล่าวโดยมีกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันและช่วยเหลือเด็กได้อย่างถูกต้อง

การป้องกันนั้นมีความสำคัญมาก นอกจากการเรียนว่ายน้ำของเด็กจึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรมอบให้ลูกเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวได้ในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นใดก็คือ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ควรสละเวลาในการดูแลและใส่ใจในขณะที่ลูกต้องอยู่ใกล้น้ำ รวมถึงการกำจัดแหล่งน้ำในบ้านหรือสร้างรั้วรอบขอบชิดให้กับแหล่งน้ำรอบบ้าน ไม่ควรผลักภาระนี้ให้เป็นหน้าที่ของครู หรือ หน่วยกู้ภัยในการดูแลลูกของคุณ เพราะเวลาเพียงเสี้ยววินาทีอาจทำให้คุณพลาดในการปกป้องชีวิตคนที่คุณรักที่สุดไปอย่างไม่มีวันกลับมาอีกเลย

เรียนรู้การกู้ภัย และการช่วยเหลือการบาดเจ็บจากการดำน้ำ

การเรียนรู้วิธีการสังเกตุความประพฤติและการปฏิบัติตัวของผู้ที่กำลังมีปัญหาและอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้ และทำอย่างไรถึงจะหยุดการเกิดอุบัติเหตุนั้นด้วยการทำหรือไม่ทำบางอย่าง หลักสูตรนี้เราจะพาคุณไปที่การเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นโดยที่ตัวคุณเองไม่ตกอยู่ในอันตราย

การบาดเจ็บในการดำน้ำนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ผลที่ตามมา มักจะรุนแรง อาจนำไปสู่การบาดเจ็บ สาหัส การพิการ หรือการเสียชีวิตได้ วิธีการหลีกเลี่ยง การบาดเจ็บจากการดำน้ำ ที่ดีที่สุดคือ การไม่ประมาท ดำน้ำด้วยความรอบคอบ ปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อแนะนำ ของสถาบันดำน้ำที่เรียนมา ของ Instructor และ Divemaster อย่างเคร่งครัด ไม่ควรทำในสิ่ง ที่เกินความสามารถของตน ไม่ควรดำน้ำด้วยความคึกคะนอง อวดเก่ง หรือเพื่ออวดความสามารถของตน

นอกจากนั้น สิ่งที่ควรจะมีคือ การมีแผนปฏิบัติการ สำหรับกรณีฉุกเฉิน ดังเช่นในเอกสารฉบับนี้ การมีแผนปฏิบัติการที่ดีนั้น จะทำให้นักดำน้ำนำไปใช้ เป็นแนวปฏิบัติในเวลาวิกฤติ ไม่ต้องเสียเวลาทบทวน หรือเดาว่าสิ่งที่ตนจะกระทำนั้น ถูกต้องหรือไม่ และนำไปสู่การกู้ภัย ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นเอง

การบาดเจ็บจากการดำน้ำนั้น มีอยู่หลายประการด้วยกัน บางอย่างก็เป็น สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับคนทั่วๆ ไป ขณะที่บางอย่าง ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ดำน้ำ ด้วยอุปกรณ์ในการหายใจใต้น้ำเท่านั้น เอกสารฉบับนี้ จะแนะนำถึงอุบัติเหตุ การบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงวิธีการปฐมพยาบาล การติดต่อสื่อสาร และวิธีการนำผู้ป่วยไปส่งแพทย์ ในกรณีฉุกเฉินจากการดำน้ำ

สิ่งที่สำคัญ ในการรับมือกับกรณีฉุกเฉินนั้น คือการเตรียมพร้อม ทั้งความพร้อมด้านบุคลากร ข่าวสารข้อมูล และอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ในการดำเนินการ นั่นคือ บุคลากรที่จะรับมือกับกรณีฉุกเฉิน ในการดำน้ำนั้น ควรที่จะมีความพร้อม ทั้งในด้านความรู้ ด้านร่างกาย และจิตใจ บุคลากรดังกล่าว ควรมีสมรรถภาพทางกายที่ดี มีทักษะในการดำน้ำ และว่ายน้ำเป็นอย่างดี มีความรู้ความสามารถ ในเรื่องการกู้ภัยจากการดำน้ำ และมีจิตใจที่พร้อม ในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติ อันอาจจะเกิดขึ้น อันดับต่อมา ในการที่จะรับมือกับกรณีฉุกเฉิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรจะต้องมี การเตรียมข้อมูลที่จะใช้ เช่น ข้อมูลวิธีการ ดำเนินการต่างๆ ข้อมูลวิธีการ ติดต่อกับบุคคล หรือหน่วยงานภายนอก ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลวิธีการ ขนส่งผู้ป่วยไปยังแพทย์ เส้นทางการเดินทาง ฯลฯ และสุดท้าย สำหรับการรับมือกับกรณีฉุกเฉิน ควรจะมีอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ที่คาดว่าน่าจะได้ใช้งาน ไว้ใกล้ๆ เช่น เครื่องมือช่วยคนตกน้ำ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล เป็นต้น

การเรียนรู้เป็นอาสาสมัครกู้ภัย เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

อาสาสมัครกู้ภัย คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มคนผู้มีความเสียสละทั้งทางกายและทางใจ เพื่ออุทิศให้แก่สังคมและเพื่อนร่วมโลก ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ โดยไม่คำนึงถึงชนชั้น วรรณะ เชื้อชาติ หรือศาสนา และเป็นผู้ซึ่งยอมเสียสละเวลาส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือสังคมโดยที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ อาสาสมัครกู้ภัยมีหลายประเภท มาจากหลายสายงาน กระจายอยู่ทั่วทุกสารทิศ ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครกู้ภัยของมูลนิธิต่างๆรวมถึงหน่วยงานทางราชการ แต่ทุกคนมีจุดประสงค์เดียวกัน คือต้องการช่วยเหลือผู้ซึ่งกำลังประสบกับปัญหาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ให้พ้นจากวิกฤตินั้นๆไปได้ด้วยดี หน้าที่ของผู้ที่เป็น อาสาสมัครกู้ภัย ถึงแม้ว่าการเป็นอาสาสมัครกู้ภัยนั้นจะเกิดจากความสมัครใจของผู้ที่ทำก็ตาม แต่ทุกคนก็ยังคงต้องประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานนั้นๆอย่างเคร่งครัดด้วย ไม่ใช่ว่าเป็นอาสาสมัครกู้ภัยแล้วจะทำอะไรได้ตามอำเภอใจ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างระเบียบวินัยให้แก่อาสาสมัครกู้ภัยทุกๆคน หน้าที่ของอาสาสมัครกู้ภัยมีหลายอย่างเช่น การออกตระเวนช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุในกรณีต่างๆ การเดินทางไปตามต่างจังหวัด ชนบท หรือถิ่นทุรกันดาร เพื่อนำข้าวของเครื่องใช้ และสิ่งของที่จำเป็นไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั้งนี้รวมถึงผู้ที่ประสบภัยทางธรรมชาติ ซึ่งการปลอบโยนผู้ที่เสียขวัญจากสิ่งที่ได้พบเจอก็นับเป็นหน้าที่หนึ่งด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ก็ยังมีหน้าที่ ที่สำคัญอีกหลายอย่างที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถรวมถึงการขวนขวายหาความรู้ของอาสาสมัครกู้ภัยเองด้วย สิ่งนั้นก็คือการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงการกู้ภัยในรูปแบบต่างๆ การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บและการกู้ภัยโดย “อาสาสมัครกู้ภัย” การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บนั้นมีความสำคัญมาก เพราะในความสำเร็จหรือในความผิดพลาดจากการตัดสินใจในการกระทำนั้น หมายถึง “ชีวิต” ดังนั้นความรู้ความเข้าใจบวกกับความสามารถและความกล้าที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในยาม คับขันจึงมีความสำคัญมาก ทั้งนี้อาสาสมัครกู้ภัยจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ทางการแพทย์ไม่มากก็น้อย เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนทางด้านการกู้ภัยนั้นไม่ใช่ว่ารู้วิธีแล้วจะทำได้ทันที ทุกอย่างต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญ ดังนั้นอาสาสมัครกู้ภัยที่สนใจในการกู้ภัยจึงจำเป็นที่จะต้องขวนขวายหาความรู้จากที่ ต่างๆเพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ได้อย่างถูกวิธี การกู้ภัยแยกออกมาได้หลายชนิด เช่น การดับเพลิง, การโรยตัวจากที่สูงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่อยู่ด้านล่างซึ่งยากที่จะเข้าถึง, การกู้ภัยในอาคาร, การตัด-ถ่างเพื่อนำผู้บาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิตออกมาจากรถยนต์ซึ่งประสบอุบัติเหตุ ฯลฯ แล้วแต่ว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบไหนขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้นอาสาสมัครกู้ภัยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ คือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นอาสาสมัครกู้ภัยจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
แต่อย่างไรก็ตามทั้งการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บและการกู้ภัยก็จำเป็นที่จะต้องมีผู้รู้เฉพาะทางร่วมช่วยเหลือด้วยเช่นกันเพื่อความไม่ประมาทและกันการผิดพลาด นอกจากนี้ก็ยังมีการช่วยเหลือประชาชนด้วยวิธีการอื่นๆตามแต่ปัญหาอีกด้วย เช่นการจับงูที่เข้าไปอยู่ในที่พักอาศัยเพื่อความปลอดภัยของผู้คนซึ่งก็ต้องอาศัยความรู้อีกเช่นกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอาสาสมัครกู้ภัยคือผู้ที่มีความเสียสละ ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นเสมือนเป็นญาติของตน เป็นผู้ซึ่งพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอยู่เสมอ และให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกด้วยความเสมอภาค โดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทนใดๆ จึงถือได้ว่าอาสาสมัครกู้ภัยเป็นกำลังสำคัญของสังคมในปัจจุบันไปเสียแล้ว

 

การศึกษาด้านการกู้ภัยและการช่วยเหลือ

สำหรับเหตุการณ์ร้ายแรงพบว่าปัจจุบันนี้มีเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากและแทบจะทุกครั้งที่ไม่สามารถแก้ไขเหตุได้อย่างถูกต้องทันท่วงที เพราะว่า ไม่มีแผนการเตรียมตัว ไม่มีการซ้อมแผน การติดตาม งาน ขาดความใส่ใจ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงเวลาที่จะต้องให้ความสำคัญเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น โดยจำเป็นจะต้องศึกษาถึงวิธีการป้องกันที่จะเกิดขึ้นจากภัยต่างๆ เช่น เพลิงไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว เคมีหกรั่วไหล แก๊สรั่ว การขู่ลอบวางระเบิด การวางเพลิง เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและฝึกอบรม โดยมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ในด้านการกู้ภัยในสถานการณ์ต่างๆเข้ามาช่วยเหลือ

กลยุทธ์ในการปฏิบัติการกู้ภัยก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สั่งการใช้จัดระบบปฏิบัติงาน ที่เกิดเหตุให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ภัยที่เกิดขึ้นไม่ให้มีผลกระทบร้ายแรงซึ่งมีหลักเกณฑ์การเลือกกลยุทธ์ ดังนี้
1.การช่วยเหลือชีวิตของประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มาก่อนการเลือกการลดความสูญเสียในทรัพย์สินและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. การควบคุมความเสียหายที่กำลังเกิดขึ้นจากอุบัติภัยขณะนั้น อย่างเช่น การกำจัดต้นเหตุของการเกิดเหตุโดยตรง เช่น เพลิงไหม้ หรือน้ำท่วม

สำหรับโรงเรียนสอนกู้ภัยและการช่วยเหลือนั้นมีมากมายให้ได้ศึกษา ยกตัวอย่างเช่น สถาบันฝึกดับเพลิงชั้นสูง ทาฟต้า ซึ่งเป็นสถาบันฝึกดับเพลิงและกู้ภัยชั้นสูงเป็นโรงเรียน ฝึก สอนดับเพลิงและกู้ภัย ให้มีการฝึกดับเพลิงให้กับพนักพนักงานทั่วไป จะเห็นได้ว่าสาธารณภัยสามารถส่งผลกระทบให้แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อประชาชนไม่ให้ความสำคัญไม่มีความเข้าใจในความเสี่ยงของตนเอง และไม่สามารถดูแลจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ตนเองมีสภาพเปราะบางและอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับการเป็นผู้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสาธารณภัย ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้คือ สาธารณภัยเป็นเรื่องใกล้ตัวและอาจได้รับผลกระทบโดยทางใดทางหนึ่งเมื่อใดก็ได้ ฉะนั้นทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญกับเรื่องการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ การศึกษา และชุมชนให้มีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องนี้

การศึกษาด้านการกู้ภัยต่างๆและการช่วยเหลือผู้อื่น

การศึกษาด้านการกู้ภัยต่างๆและการช่วยเหลือผู้อื่น

โลกคือหมู่บ้านใหญ่ที่เราอยู่ร่วมกัน ไม่มีชาติใดจะอยู่อย่างไม่พึ่งชาติอื่นได้ ไม่มีใครไม่ต้องการความช่วยเหลือ  การทำงานอาสาคือการที่คนเราทำงานให้ผู้อื่นโดยมิได้ถูกกระตุ้นว่าจะได้รับ สิ่งตอบแทนเป็นตัวเงินหรือสิ่งใดๆ การทำงานอาสาเป็นกิจกรรมที่เอาประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง ตั้งใจที่จะส่งเสริมสิ่งที่ดีๆ หรือปรับปรุงคุณภาพชีวิต บางคนอาจเป็นอาสาสมัครเพื่อให้ได้ทักษะโดยไม่ต้องมีการลงทุนของนายจ้างเพิ่มเติม การทำงานอาสาหรือการเป็นอาสาสมัครมีหลายรูป แบบและใครๆก็ทำได้ อาสาสมัครจำนวนมากได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษในงานที่ตนทำ เช่น ในด้านการแพทย์ การศึกษา หรือการกู้ภัยในยามฉุกเฉิน บางคนทำงานในที่ต่างๆหลายแห่ง เช่น คนที่ทำงานอาสาในยามที่เกิดภัยธรรมชาติ  ในลักษณะนี้การทำงานอาสามีบทบาทสำคัญในการสร้างผลทางเศรษฐกิจ  ในพื้นที่ที่ความยากจนแพร่หลาย  ชุมชนคนยากจนมักจะขาดเพื่อนและเพื่อนบ้านสามารถช่วยเหลือได้  การช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยการสมัครใจอาสานี้ประกอบเป็นเครือข่ายนิรภัย ทางสังคม แบบอย่างนี้ใช้ได้ดีในรัฐที่มีความสมานฉันท์ของชาติในยามยากลำบาก โดยกลุ่มที่มีฐานะดีกว่ามักจะเสียสละเพื่อประโยชน์ของคนที่ต้องการความช่วย เหลือ

การทำงานอาสาด้านสิ่งแวดล้อมหมายถึงอาสาสมัครที่ช่วยเหลือทางด้านการจัดการ สภาพแวดล้อม  อาสาสมัครทำกิจกรรมได้กว้างขวางหลากหลาย รวมทั้งการติดตามสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น การปลูกพืชขึ้นมาใหม่ การกำจัดวัชพืช และการให้การศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ระบบโรงเรียนทั่วโลกพึ่งพาอาสาสมัครและการบริจาคเป็นอย่างมากเพื่อให้สามารถ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล เมื่อใดที่เศรษฐกิจตกต่ำ ความต้องการอาสาสมัครและทรัพยากรก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างยิ่ง มีโอกาสมากมายในระบบโรงเรียนที่อาสาสมัครจะใช้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งถ้าคุณมีทักษะหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่มีข้อเรียกร้องมากนักในการที่จะเป็นอาสาสมัครในระบบโรงเรียน ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ปู่ย่าตายาย หรือแค่เพียงสมาชิกคนหนึ่งของชุมชน โรงเรียนส่วนมากเพียงขอให้กรอกข้อความในแบบฟอร์มอาสาสมัครให้ครบถ้วน ส่วนผลประโยชน์ที่ได้รับก็เหมือนกับการทำงานอาสาแบบอื่นๆ นั่นคือรางวัลอันยิ่งใหญ่สำหรับอาสาสมัคร เด็กนักเรียน และโรงเรียนดังนั้นประเทศส่วนใหญ่จึงพัฒนานโยบายและออกกฎหมายเพื่อทำความชัดเจนถึงบทบาท และความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียและจัดสรรการสนับสนุนทางกฎหมาย ทางสังคม ทางการบริหาร และทางการเงินให้ตามที่จำเป็น เรื่องนี้มีความจำเป็นเป็นพิเศษเมื่อการมองว่ากิจกรรมอาสาบางกิจกรรมเป็นการ ท้าทายอำนาจรัฐ เช่น เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2001 ประธานาธิบดีบุชแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเตือนว่ากลุ่มอาสาสมัครควรเสริม มิใช่แทนที่ งานที่หน่วยงานรัฐทำ งานอาสาสมัครที่ยังประโยชน์แก่รัฐแต่ท้าทายคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับค่าตอบ แทนสร้างความขุ่นเคืองใจให้สหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนคนที่ได้รับค่าตอบแทน เช่น ในกรณีอาสาสมัครดับเพลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรวมคนทั้งสองกลุ่มไว้ในหน่วยเดียวกัน