บทบาทหน้าที่ของหน่วยกู้ภัยในการช่วยเหลือผู้อื่น

หน้าที่ของอาสาสมัครกู้ภัยมีหลายอย่างเช่น การออกตระเวนช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุในกรณีต่างๆ การเดินทางไปตามต่างจังหวัด ชนบท หรือถิ่นทุรกันดาร เพื่อนำข้าวของเครื่องใช้ และสิ่งของที่จำเป็นไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั้งนี้รวมถึงผู้ที่ประสบภัยทางธรรมชาติ ซึ่งการปลอบโยนผู้ที่เสียขวัญจากสิ่งที่ได้พบเจอก็นับเป็นหน้าที่หนึ่งด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีหน้าที่ ที่สำคัญอีกหลายอย่างที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถรวมถึงการขวนขวายหาความรู้ของอาส าสมัครกู้ภัยเองด้วย สิ่งนั้นก็คือการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงการกู้ภัยในรูปแบบต่างๆ

การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บนั้นมีความสำคัญมาก เพราะในความสำเร็จหรือในความผิดพลาดจากการตัดสินใจในการกระทำนั้น หมายถึง “ชีวิต” ดังนั้นความรู้ความเข้าใจบวกกับความสามารถและความกล้าที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในยาม คับขันจึงมีความสำคัญมาก ทั้งนี้อาสาสมัครกู้ภัยจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ทางการแพทย์ไม่มากก็น้อย เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนทางด้านการกู้ภัยนั้นไม่ใช่ว่ารู้วิธีแล้วจะทำได้ทันที ทุกอย่างต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญ ดังนั้นอาสาสมัครกู้ภัยที่สนใจในการกู้ภัยจึงจำเป็นที่จะต้องขวนขวายหาความรู้จากที่ ต่างๆเพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ได้อย่างถูกวิธี การกู้ภัยแยกออกมาได้หลายชนิด เช่น การดับเพลิง, การโรยตัวจากที่สูงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่อยู่ด้านล่างซึ่งยากที่จะเข้าถึง, การกู้ภัยในอาคาร, การตัด-ถ่างเพื่อนำผู้บาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิตออกมาจากรถยนต์ซึ่งประสบอุบัติเหตุ ฯลฯ แล้วแต่ว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบไหนขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้นอาสาสมัครกู้ภัยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ คือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นอาสาสมัครกู้ภัยจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ แต่อย่างไรก็ตามทั้งการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บและการกู้ภัยก็จำเป็นที่จะต้องมีผู ้รู้เฉพาะทางร่วมช่วยเหลือด้วยเช่นกันเพื่อความไม่ประมาทและกันการผิดพลาด นอกจากนี้ก็ยังมีการช่วยเหลือประชาชนด้วยวิธีการอื่นๆตามแต่ปัญหาอีกด้วย เช่นการจับงูที่เข้าไปอยู่ในที่พักอาศัยเพื่อความปลอดภัยของผู้คนซึ่งก็ต้องอาศัยควา มรู้อีกเช่นกัน

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอาสาสมัครกู้ภัยคือผู้ที่มีความเสียสละ ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นเสมือนเป็นญาติของตน เป็นผู้ซึ่งพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอยู่เสมอ และให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกด้วยความเสมอภาค โดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทนใดๆ จึงถือได้ว่าอาสาสมัครกู้ภัยเป็นกำลังสำคัญของสังคมในปัจจุบันไปเสียแล้ว

หน่วยกู้ภัยส่วนใหญ่เกิดจากคนในชุมชนเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชน

หน่วยกู้ภัยส่วนใหญ่เกิดมาจากคนในชุมชนมารวมตัวกันก่อตั้งขึ้นค่ะ บางกลุ่มก็มาจากสมาชิกเล่นวิทยุความถี่ บางกลุ่มก็มาจาก อปพร. ค่ะ ซึ่งมีใจรักและเสียสละเพื่อส่วนรวม จึงมีความผูกพันกับชุมชนและรักที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ใกล้ชิดกับชุมชนของตัวเองได้ง่าย และได้รับความไว้วางใจและเชื่อถือจากชุมชน มีการจัดตั้งกระจายออกไปทั่วประเทศ เห็นได้จากมีหลากหลายหน่วยมาก ซึ่งระบบราชการก็ไม่มีงบประมาณพอเพียงที่จะทำได้ค่ะ แต่ก็มีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยราชการกับศูนย์กู้ภัย จะเห็นได้ว่าบางสน.ก็ได้ร่วมมือกันกับศูนย์กู้ชีพจัดตั้งหน่วยกู้ชีพพลเรือนขึ้น เช่นศูนย์ร่มฟ้าเป็นต้นค่ะการเข้ามาเป็นกู้ภัยนั้นส่วนใหญ่จะมาจากการเป็น อปพร.ซึ่งย่อมาจาก อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่านพลเรือน ซึ่งทางอำเภอตำบล จังหวัด จะเป็นผู้เปิดให้เข้ารับการฝึก ประมาณ 5 วันตามหลักสูตร ซึ่งเมื่ออบรมเสร็จก็เปรียบเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐค่ะ แต่ไม่มีเงินเดือนซึ่ง อปพร.จะมี พรบ.คุ้มครองค่ะ แต่ก็มีหน่วยงานที่รับเข้ามาแล้วทำการฝึกเองนั้นคนละเรื่องกันค่ะ

การที่จะเป็นกู้ภัยที่ดีต้องปฎิบัติดังนี้ ห้ามดื่มของมืนเมาในขณะปฏิบัติหน้าที่ ห้ามหยิบฉวยของมีค่าของผู้ประสบภัยไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้นถ้าต้องการเก็บรักษาให้ทำการเก็บใส่ถุงใส่แล้วนำฝากพยาบาลเวรที่รับผู้ป่วยแล้วจดชื่อพยาบาลผู้เก็บรักษาแล้วแจ้งศูนย์ห้ามกระทำการใดๆอันส่อพฤติกรรมล้วงเกินทางเพศ ทั้งตลอดผู้ป่วยมีสติและไม่มีสติยกเว้นการทำCPRกับผู้ป่วยที่ต้องการนวดหัวใจผายปอด ไม่ใช้อารมณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติผู้ประสบภัยดุจญาติของตัวเอง พึงเห็นกู้ภัยหน่วยอื่นเป็นผู้ร่วมงาน อย่างเป็นมิตรไม่หวังสิ่งตอบแทนจากญาติผู้ป่วยทุกกรณี ใช้วาจาอย่างสุภาพในการปฏิบัติหน้าที่รักษาจรรยาบรรณของการเป็นกู้ภัยและกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด สำหรับที่กล่าวมาเป็นข้อปฏิบัติหลักๆแต่จริงๆต้องใช้จิตวิญญาณของตัวเองในการตัดสินใจและรักษากฏด้วยใจจริงค่ะ รถมูลนิธิเป็นรถฉุกเฉินที่ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่? แล้วรถฉุกเฉินมีระเบียบปฏิบัติอย่างไรเมื่อมีพรบ.คุ้มครอง รถของหน่วยงานที่ถูกต้องย่อมถูกกฏหมายแน่นอนค่ะ เพราะต้องมีการขอได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้สัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่จะกำหนดค่ะ

ความสำคัญของการเรียนรู้และการช่วยฟื้นคืนผู้ประสบอุบัติเหตุ

การช่วยฟื้นฟูผู้ประสบอุบัติเหตุ เป็นการปฏิบัติเพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างถูกต้องเหมาะสมในสิ่งที่ผู้ช่วยเหลือสามารถปฏิบัติได้ในขณะนั้น เพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุอยู่ในภาวะปลอดภัยก่อนนำส่งสถานพยาบาล

การประสบอุบัติเหตุในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การให้ความช่วยเหลือต่อผู้ประสบกับสถานการณ์ฉุกเฉินจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานในการช่วยเหลือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดหรือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้รอดพ้นจากอันตรายในโอกาสที่สามารถกระทำได้ ซึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญของการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุก็เพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บ ความพิการ ตลอดจนการสูญเสียชีวิต ทั้งนี้ผู้ให้การช่วยเหลือจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะการช่วยเหลือ มีความมั่นใจและปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมจึงจะทำให้การช่วยเหลือครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามต้องการ ในระดับชั้นนี้จะนำเสนอถึงการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุในกรณีการจมน้ำ การสำลักควันไฟ การถูกไฟฟ้าดูด ภาวะอาการหัวใจวายและภาวะจากทางเดินหายใจอุดตัน เพื่อที่นักเรียนจะได้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

หลักการทั่วไปในการช่วยฟื้นฟูผู้ประสบอุบัติเหตุในสถานการณ์ฉุกเฉิน
หลักการทั่วไปในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุในสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ซึ่งจะผันแปรตามสถานการณ์ของอุบัติเหตุนั้น โดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าควรปฏิบัติเช่นไร โดยทั่วไปแล้วผู้ให้การช่วยเหลือจะต้องรู้จักวิธีการประเมินสถานการณ์ด้วยการตัดสินใจเข้าช่วยเหลือ และแก้ไขสถานการณ์ประสบอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันท่วงที และต่อเนื่อง เพราะมีผลกระทบต่อความอยู่รอดหรือเสียชีวิตของผู้ประสบภัยโดยตรง โดยผู้ให้การช่วยเหลือเองจะต้องควบคุมสติให้มั่นคง ไม่ตื่นเต้นตกใจ ควรมีจิตวิทยาวนการพูดสร้างสรรค์ ให้กำลังใจผู้ประสบอุบัติเหตุให้รู้สึกว่าตนเองมีความปลอดภัย โดยมีหลักทั่วไปที่ควรนำมาปฏิบัติเพื่อให้การช่วยเหลือ ดังนี้
1. ตัวผู้ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ ผู้ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุมักเป็นบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น จึงควรเรียนรู้หลักการช่วยเหลือเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง ดังนี้
– ผู้ช่วยเหลือควรคำนึงถึงความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อจะได้ประเมินสภาพความปลอดภัยที่เป็นจริงในขณะนั้น ทั้งต่อตัวของผู้ช่วยเหลือและผู้ประสบอุบัติเหตุ
– ผู้ช่วยเหลือจะต้องมั่นใจว่าตนเองในขณะนั้นมีความรู้ความสามารถ และทักษะการปฏิบัติตามหลักการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้องเป็นอย่างดี
– ผู้ช่วยเหลือจะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง มีสติรอบคอบ และกระทำโดยความเหมาะสมในขณะที่ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือนั้น ควรคำนึงถึงลำดับความสำคัญก่อน-หลังของสภาพความรุนแรงที่ผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับด้วย เช่น ถ้าผู้ประสบอุบัติเหตุมีบาดแผลเลือดไหล และหยุดหายใจต้องช่วยให้หายใจก่อนการห้ามเลือด เป็นต้น
– ผู้ช่วยเหลือจะต้องใช้ความรอบคอบในการตรวจสอบด้วยสายตาเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยให้สามารถมองเห็นและประเมินสถานการณ์ความผิดปกติได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว รวมทั้งวางแผนให้การช่วยเหลือเป็นลำดับขั้นตอนไปพร้อมกัน
– ผู้ช่วยเหลือไม่ควรเคลื่อนย้ายตัวผู้ประสบอุบัติเหตุโดยไม่จำเป็น เพราะอาจมีอาการบาดเจ็บของอวัยวะภายในของผู้ประสบอุบัติเหตุที่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น กระดูกสันหลังหัก กล้ามเนื้อฉีกขาด เมื่อทำการเคลื่อนย้ายแล้วหากปฏิบัติไม่ถูกวิธีอาจทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุพิการหรือบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

2. ตัวผู้ประสบอุบัติเหตุ ผู้ประสบอุบัติเหตุในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ อยู่ในภาวะอันตรายที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งระดับความรุนแรงของอันตรายที่ได้รับ สามารถเรียงลำดับความสำคัญ 5 ลักษณะ ดังนี้
– ทางเดินหายใจอุดตัน หยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น
– การเสียเลือดเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว
– ไม่รู้สติหรือหมดความรู้สึก
– ได้รับความเจ็บปวด
– กระดูกหัก

ถึงเวลาที่เด็กไทยต้องว่ายน้ำเป็นและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้

อุบัติเหตุในประเทศไทยที่มีอัตราการสังเวยชีวิตเด็กเป็นอันดับหนึ่งนั่นคือการจมน้ำ โดยในแต่ละปีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำถึงกว่า 1,500 คน หรือ เฉลี่ย 4 คนต่อวันจากกิจกรรมทางน้ำที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง ข่าวการสูญเสียลูกน้อยวัย 6 เดือนในอ่างน้ำเป่าลม หรือ การพบศพเด็กวัยหัดเดินที่ขาดการทรงตัวขณะชะโงกหน้าไปในบ่อน้ำหรือโอ่งในสวน เนื่องมาจากการปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังสร้างความสะเทือนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ประสบการณ์อันน่าสลดของผู้ปกครองบางคนที่สูญเสียลูกสาวซึ่งเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมเยาวชนของโรงเรียนเพราะเพียงแค่หันไปคุยโทรศัพท์เรื่องงาน ในขณะที่ลูกสาวเป็นตะคริวอย่างกะทันหันและจมดิ่งไปในสระโดยที่ไม่มีใครคาดคิด หรือแม้กระทั่งความพลาดพลั้งของนักเรียนมัธยมที่เกิดเหตุในบ่อ หนอง คลอง แม่น้ำ ในขณะเล่นน้ำช่วงเทศกาลสงกรานต์และถูกกระแสน้ำพัดพาไปอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์สำคัญที่ทำให้เราตระหนักว่าสาเหตุที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมในพริบตาก็คือ ความประมาทในการมองข้ามความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กนั่นเอง

นอกจากนี้การช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธีคืออีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กไทยสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอีกหลายประเทศ เนื่องจากขาดการฝึกหัดอบรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ประกอบกับความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เช่นการนำเด็กพาดบนบ่าแล้ววิ่งไปมา หรือ วางบนกระทะขนาดใหญ่เพื่อต้องการให้น้ำระบายออกมาทางปาก หากคุณคือคนหนึ่งที่พบเด็กอยู่ในสภาพที่เพิ่งจมน้ำ โปรดจงระลึกไว้ว่าโอกาสที่คุณสามารถช่วยให้เด็กรอดชีวิตนั้นมีเพียง 3นาทีก่อนที่เนื้อสมองจะเริ่มเสียไปจากการขาดออกซิเจนเพราะเลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง ดังนั้นการช่วยเหลือตามความเชื่อที่ว่านั้นจึงอาจเกิดผลเสียในการช่วยชีวิตเด็กที่จมน้ำ เพราะเป็นการทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ และอาจทำให้สำลักน้ำลงสู่ป KloxoNG : Error 500

 


Error 500 - Internal Server Error

A generic error message, given when no more specific message is suitable